รูปภาพ

 

แผ่นดิสก์ (Disk) หรือที่มักเรียกกันว่า แผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฟลอบบี้ดิสก์ เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก  มีขนาดโดยทั่วไป คือ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว คะ  (ดิสก์ 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้วปัจจุบันไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว ส่วนดิสก์ 3.5 นิ้วปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่ก็กำลังจะหมดความนิยมไปในที่สุด เพราะมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นที่จุได้มากกว่า เช่น ซีดี ดีวีดี เข้ามาแทนที่คะ)

รูปภาพ

 

 Floppy Disk (ฟลอปปี้ดิสก์  )
      หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสก์เก็ต (Diskette) มี ลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็กสีดำทรงกลม ทำจากแผ่นพลาสติกไมล่า เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก บรรจุอยู่ในซองพลาสติกแข็งรูปสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันแผ่นดิสก์เก็ต จากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก การขูดขีด และอื่นๆแผ่นดิสก์เก็ตมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 3.50 นิ้ว กับขนาด 5.25 นิ้ว แผ่นดิสก์เก็ตที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันจะเป็นขนาด 3.50 นิ้ว ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลเท่ากับ 1.44 MB สำหรับแผ่นดิสก์เก็ต ขนาด 5.25 นิ้วนั้นปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เพราะมีขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก และมีความจุข้อมูล 1.2 MB ซึ่งน้อยกว่าแผ่น 3.50 นิ้วที่มุมด้านหนึ่งของดิสก์เก็ตจะมีกลไกป้องกันการบันทึกข้อมูลลงไปทับข้อมูลเดิม (Write-protect) ซึ่งในแผ่นดิสก์เก็ต 5.25 นิ้ว จะทำเป็นรอยบาก ถ้ามีแถบปิดรอยบากนี้แผ่นนั้นก็จะบันทึกไม่ได้ ส่วนในแผ่นดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว จะใช้สลักที่เลื่อนไปมาได้สำหรับปิดรูที่เจาะไว้ ถ้ารูที่เจาะไว้ถูกปิดก็จะบันทึกข้อมูลได้ แต่ถ้าเปิดเป็นช่องก็จะบันทึกไม่ได้ (ตรงข้ามกับแบบ 5.25 นิ้ว)คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์เก็ต ได้ โดยการสอดแผ่นเข้าไปใน เครื่องขับดิสก์ หรือ ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์เก็ต ซึ่งโดยปกติดิสก์ไดร์ฟจะถูกกำหนดให้เป็น ไดร์ฟ A: หรือ ไดร์ฟ B: 
ข้อดีและข้อจำกัดของแผ่นดิสก์เก็ต
ข้อดี 
1.       สามารถนำข้อมูลไปใช้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่าย 
2.       สามารถพกพาได้สะดวก 
ข้อจำกัด 
1.       เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน 1.44 MB ต่อหนึ่งแผ่น 
2.       ข้อมูลในแผ่นอาจสูญหายได้ง่ายถ้าใช้งานไม่ถูกวิธี 

ฟล็อปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก่าแก่ที่มีมานานับสิบปี ตั้งแต่ก่อนยุคของพีซี เริ่มจากขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว และในที่สุดก็มาหยุดอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ความจุก็ได้เพิ่มจากไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 และ 2.88 เมกะ ไบต์ในปัจจุบัน สมัยก่อนโปรแกรมมีขนาดไม่ใหญ่นัก ใช้เนื้อที่จุภายในดิสก์ไม่กี่กิโลไบต์ แต่ปัจจุบันข้อมูลมีปริมาณมากขึ้นพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เช่นไฟล์เพลง MP3 เพียง 1 เพลงก็มีขนาดมากกว่า 3 เมกะ ไบต์แล้ว ทำให้ความจุของดิสก์ไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ   optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
1.1       ระบบการทำงานของฟล็อปปี้ดิสก์
         กลไกการทำงานของฟล็อปปี้ดิสก์จะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์(Mylar) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่น จะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูล เริ่มแรกสามารถอ่านข้อมูลได้เพียงด้านเดียว ต่อมามีการพัฒนาให้สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า Double-sided  หัวอ่านจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้ต้องใช้ความเร็วหมุนจานที่ต่ำ คือประมาณ 300 รอบต่อนาทีเท่านั้น (เทียบกับ 7200 รอบต่อนาทีที่เป็นมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน) และ เนื่องจากหัวอ่านสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็ก ที่หัวอ่าน 
         1.2     ความจุของฟล็อปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ 
ขนาด แบบ ด้านที่บันทึก ความจุข้อมูล
5.25 นิ้ว Single sided-Double Density 1 160/180 KB
  Double sided-Double Density 2 320/360 KB
  HD(High Density) 2 1.2 MB
3.5 นิ้ว Double sided-Single Density 2 720 KB
  Double sided-High Density 2 1.44 MB
  Double sided-Quad Density 2 2.88 MB
3.5 นิ้ว Floptical Disk 2 120 MB
     เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรม(ทีละบิตต่อเนื่องกัน ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่ส่งแบบขนาน ทำให้ส่งข้อมูลได้ช้ามาก อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่ในช่วง 0.5-1 เมกะไบต์ต่อวินาที ส่วนความเร็วในการค้นหาข้อมูลตกประมาณ 60-200 Millisecond) โดยส่งต่อข้อมูลให้ซีพียูด้วยการทำ DMA (Direct Memory Access) ขณะที่ฟล็อปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป 
     ที่มุมด้านหนึ่งของฟล็อปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
         1.3    .Floptical Disk
                    เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ทีเดียว และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย  ชื่อทางการค้าของ 
Floptical Drive
ที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ SuperDisk จากบริษัท Imation 
                    หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่า optical servo (หรือบางทีเรียกว่า Laser servo)หรือวงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ตธรรมดามาก เช่น ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ใน Floptical disk จะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทำให้ได้ความจุรวมถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น Floptical disk หมุนด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมีอัตรารับส่งข้อมูล ประมาณ 3.2-5.4 เมกะบิตต่อวินาที

ZIP drive ของ Iomega Jazz drive
                   นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายกัน แต่รูปแบบต่างกันไป เช่น Zip Drive จาก Iomega ที่ออกมาก่อน Superdisk แต่ได้รับความนิยมมากพอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับ Parallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก 100 เป็น 250 เมกะไบต์ Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบ SCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก

ใส่ความเห็น